วันพฤหัสบดีที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

สงครามสังคมฯ-17พค55



คลิปรายการย้อนหลัง "สงครามสังคมฯ" ตอน..สัญญากำหนดรู้ชัดในนิโรธ โดยพ่อครูสมณะโพธิรักษ์ ถ่ายทอดสดจาก fmtv สันติอโศก กรุงเทพฯ เมื่อ 17 พ.ค.2555

บันทึกย่อ
บันทึกย่อพ่อครูสอน สงครามฯ สันติฯ พฤ. ๑๗ พ.ค. ๒๕๕๕ แรม ๑๒ ค่ำ เดือน๖ ปีมะโรง เริ่ม 18:02 น.


1. พ่อครูว่าตั้งใจจะอธิบายปรมัตถธรรม คนที่ไม่รู้ก็ยังมีอีกเยอะ ได้มิจฉาทิฐิทำฌานก็ได้ฌานผิดๆ ได้สมาธิได้นิโรธที่ไม่ถูกพุทธ พ่อครูรู้ทั้งฌานสมาธิแบบของพุทธและที่ไม่ใช่ของพุทธ  มีหลักฐานในพระไตรฯ ก็หยิบออกมายืนยันเสมอ ให้เห็นว่าสิ่งที่ถูกต้องก็ควรมาศึกษาให้ดีๆ จะได้ไม่งมงาย


2. “นิโรธสัญญา” คือ ผู้ปฏิบัติได้กำหนดรู้ความดับ เห็นนิโรธคือเห็นกิเลสดับไป ไม่ใช่ไม่มีสัญญาหรือไม่มีเวทนาอันเป็นการดับจิต จนไม่มีวิญญาณรับรู้ เพราะเป็นอสัญญีสัตว์ แล้วก็ไปหลงว่าบรรลุธรรม  ซึ่งการบรรลุธรรมของพระพุทธเจ้านั้น จะมีอายตนะ ๒ คือ สิ่งที่เชื่อมกำหนดรู้สองสิ่งระหว่างนิโรธกับสัญญา มีญาณเห็นนิโรธอย่างแจ่มแจ้ง ไม่ใช่หรี่ๆ ซึมๆ เบลอๆ หรือไม่รู้ไม่เห็นความดับนั้น เพราะมันดับมืดไปหมด นิโรธของพุทธนั้นสว่างใส มองเห็นสิ่งที่ดับไป  รู้ขนาด รู้สภาพที่มันไม่มีอาการอีกแล้ว กิเลสมันดับแล้วจริงๆในจิต ก็มีสัญญาทำหน้าที่กำหนดรู้ รับรู้แม้แต่อาการเวทนาที่หลุดพ้นได้แล้ว


3. พ่อครูเขียนบทความมาก่อนแล้วจึงอ่านให้ฟัง แล้วอธิบายไปทีละประเด็น เช่น การปฏิบัติเข้านิโรธสมาบัติที่ผิดทางพุทธ  ซึ่งการจะเข้าหรือการล่วงพ้นออกจากนิโรธไปได้แล้ว ก็ไม่เหมือนของฤาษี  การพ้นแล้วของพุทธหรือวุฏฐานะนั้น ออกแล้วก็ไม่ต้องเข้าอีก  ดังคำของพระสารีบุตรที่บอกแก่พระอานนท์ ว่าด้วยเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน ดังนี้ ...


4. [เล่ม ๑๗ ข.๕๑๖ ว่าด้วยเนวสัญญาฯ] พระนครสาวัตถี. ท่านพระอานนท์ได้เห็นท่านพระสารีบุตรมาแต่ไกล จึงกล่าวกะท่านพระสารีบุตรว่า  อาวุโสสารีบุตร อินทรีย์ของท่านผ่องใสนัก สีหน้าของท่าน ผ่องใสวันนี้ ท่านพระสารีบุตรอยู่ด้วยวิหารธรรมอะไร?

5.     ท่านพระสารีบุตรตอบว่า อาวุโส ดังเราจะบอก เราเข้าเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน เพราะล่วงอากิญจัญญายตนฌานเสียได้โดยประการทั้งปวงอยู่.  อาวุโส เรานั้นมิได้คิดอย่างนี้ว่า เราเข้าเนวสัญญานาสัญญายตนฌานอยู่  หรือว่าเข้าเนวสัญญานาสัญญายตนฌานแล้ว หรือว่าออกจากเนวสัญญานาสัญญายตนฌานแล้ว ฯลฯ ... [หมายถึงว่าบรรลุแล้ว ออกมาแล้ว (วุฑฐานะ) พ้นแล้วจึงไม่ต้องไปเข้าอีก คือไม่ต้องไปปฏิบัติอีกเลย /ผู้บันทึก)


6. ความสงบมีทั้งฌาน สมาธิ นิโรธนั้น  พ่อครูบอกว่า “สมาธิ” จึงเป็นภาวะที่สงบสูงสุดกว่าฌาน  ถ้าผู้ปฏิบัติมิจฉาทิฐิก็จะไปเห็นว่า ฌานสงบอิ่มใจกว่า  ฌานพุทธจึงแตกต่างจากฌานที่มิจฉาทิฐิ หากไม่รู้ความแตกต่างก็ปิดประตูกั้นการบรรลุได้เลย  คนที่จะอธิบายฌานก็ดี สมาธิก็ดี ซึ่งเป็นของพุทธแท้นั้น จะต้องเป็นผู้ผู้บรรลุธรรมอย่างสัมมาสมาธิเท่านั้น  จึงจะไม่บรรยายเลอะๆ


7. ซึ่งการทำสมาธิของพุทธนั้น จะต้องมีองค์ประกอบทั้งหลาย รู้ตัวทั่วพร้อมในขณะทำไตรสิกขา มีรายละเอียดในจรณะ๑๕ เช่น ๑.ถึงพร้อมด้วยศีล ๒,๓,๔ นั้นคืออปัณณกธรรม ๓ ที่เป็นหลักปฏิบัติที่ไม่ผิดของพุทธเลย  แล้วจึงจะเกิดผลอีก ๗ ซึ่งคาบเกี่ยวกับอินทรีย์๕ แต่ว่าละเว้นสมาธินทรีย์ไปเสีย (เพราะอะไรเดี๋ยวผมจะบอก) ผลอีก ๗ คือ เมื่อปฏิบัติทั้ง ๔ มาแล้วก็จะเกิด ๕.มีกำลังของศรัทธา ๖.หิริ ๗.โอตัปปะ ๘.การแทงตลอดในพหูสูต ๙.การมีพลังวิริยะ  ๑๐.มีกำลังของสติ  ๑๑.มีกำลังของปัญญา เห็นไหมว่าในอินทรีย์๕นั้น ศรัทธา วิริยะ สติ ปัญญา มีอินทรีย์มีพลังขึ้น แต่ท่านไม่นับเอาสมาธิเพราะ  ขั้นต่อไปนั้น จะเกิดพลังสมาธิไปเอง คือ ปฐมฌานไปจนถึงฌานที่ ๔  ครบ


8. ฌานนี้จะปฏิบัติสติปัฏฐาน ๔  โพชฌงค์๗ หรือจรณะ๑๕ นั้น จะเป็นการทำฌานลืมตา ไม่ได้หลับตาทำฌาน ...ฯลฯ หากทำฌานแล้วปราศจากไตรสิกขา ก็จะไปทำฌานที่ผิดจากพุทธแน่นอน ... พ่อครูสอนสัญญาเวทยิตนิโรธ ทำสัญญากำหนดรู้ความดับมาตั้งแต่ ดับอบายภูมิมาได้ เวทนาส่วนที่ติดอบายนั้นก็ดับ แต่เวทนาเราก็ยังมีและสะอาดขึ้นดีกว่าเดิมอีกด้วย  นี่คือความละเอียดลึกซึ้ง (คัมภีรา) เห็นแม้ความแตกต่างกันของสิ่งที่ดับแล้วกับสิ่งที่ไม่ต้องดับเลย จึงเห็นตามได้ยาก(ทุทัสสา)  ๓.ทุรนุโพธา(บรรลุรู้ตามได้ยาก) ๔.สันตา(สงบระงับอย่างสงบพิเศษ แม้จะวุ่นอยู่)  ๕.ปณีตา(สุขุมประณีตไปตามลำดับ ไม่ข้ามขั้น) ๖.อตักกาวจรา(คาดคะเนด้นเดามิได้)  ๗.นิปุณา(ละเอียดลึกถึงขั้นนิพพาน) ๘.ปัณฑิตเวทนียา(รู้แจ้งได้เฉพาะผู้เป็นบัณฑิต บรรลุแท้จริงเท่านั้น) (พตปฎ. เล่ม ๙  ข้อ ๓๔)


9. ฌาน สมาธิ นิโรธของพุทธเมื่อได้บรรลุแล้วก็ไม่ต้องเข้า-ออกอีกเลย จบแล้ว ดับแล้ว ก็อยู่เหนือกามภพเลย เช่นพระอนาคามีเองท่านก็ไม่ได้หนีไปจากโลกของกามเลย ท่านดับกามภพได้แล้ว แต้ก็ยังอยู่ปะปนกับสิ่งยั่วเย้าทางรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัสอยู่ ... แม้แต่โสดาบันก็ย่อมมีปัญญาหยั่งรู้ในรายละเอียดของจิต ที่มีสกิทาในโสดาฯ  มีอนาคามีในโสดาฯ  หรือมีอรหันต์ในโสดาฯ ก็รู้ความแตกต่าง  ปฏิบัติให้ดีด้วยสัมมาทิฐิดีแล้ว ๗ ปียกไว้



ช่วง ตอบประเด็น :  กวีของอโศกสัมปวังโก “งานการเมืองเรื่องพระจะต้องใฝ่ กลับเฉไฉปล่อยว่างอย่างฤาษี ...ฯ พระจะต้องเกี่ยว พระจะต้องยุ่ง...ฯ พระจะต้องเอื้อ..ฯลฯ” / ๑.มโนมยอัตตามีสอง คือ จิตปั้นรูปออกมาให้เห็นเป็นภาพด้วยตาเนื้อ กับ ๒.จิตที่ปั้นอารมณ์ขึ้นมา (ถูกต้อง มันไม่ใช่ของจริง ถ้าคิดว่าเห็นผีจริงๆ ก็ขอให้ใจกล้าเดินไปหาเพื่อดูใกล้ๆ ได้เลย  จะเห็นว่าไม่ใช่ผี  ผีจริงๆ นั้นมันคือจิตหลอกหลอนตนเองให้เชื่อจนกลัวขึ้นมาเอง  จิตที่ปั้นอารมณ์เศร้า โศก น้อยใจ ฯลฯ ขึ้นมานั้น มันไม่ใช่ธาตุรู้ที่แท้ของจิตเลย จิตจะมีธาตุแท้คือรู้ ใสๆ ว่างๆ ไม่ใช่อับเฉาเศร้าหมองไปตามการปรุงแต่งของมโน


กิเลส ขั้นกามเบียดเบียนตนและท่าน แต่กิเลสขั้นรูปภพ อรูปภพ ก็เบียดเบียนเฉพาะตนเอง (ถูกต้องแล้ว กามภพนั้นจะต้องใช้เวลาศึกษาและปฏิบัติยาวนาน ที่ควรทำให้แห้งเหือดว่างลงก่อน แต่นักปฏิบัติสมาธิทั้งหลายกลับข้ามไป ปฏิบัติดูลมหายใจในขั้นรูปภพ หรืออรูปภพกันเลยทีเดียว)  ความคิดกับจินตนาการ (ไม่ต่างกันหรอก  แต่ถ้าความคิดกับความรู้นั้นต่างกันแน่นอน) ... ทำไมไอน์สไตน์ว่าจินตนาการจึงดี (เพราะเกี่ยวกับการสร้าง จึงต้องรู้การเอามาใช้งานให้เป็นประโยชน์)


อภัยแล้ว คนอื่นยังถือสาเรา เราจะได้รับวิบากไหม (อภัยคือ การไม่ให้มีภัยมีโทษได้แล้ว คือ ไม่ให้มีรักอันมีกามเป็นภัยต่อผู้อื่น ไม่ให้มีพยาบาทเป็นภัยต่อผู้อื่น  เมื่อเรางดการสร้างภัย หรือมีอภัย ที่ไม่ต้องไปรักเขาแล้ว  เราก็หมดวิบาก ปล่อยให้เขาตบมือข้างเดียว


สมมุติ ว่า รัฐบาลปูมาขอปรึกษาในการให้การช่วยเหลือประชาชนเป็นการเร่งด่วนก่อน พ่อครูจะมีวิสัยทัศน์ยังไงคะ  (เป็นจริงไม่ได้หรอก แต่เมื่อคุณสมมุติขึ้นแล้วก็ตอบไปตามสมมุติว่า สิ่งที่ควรทำเร่งด่วนก่อน ก็คือ แก้ความไม่ดีของตัวเขาเองให้ดีก่อน แล้วทุกอย่างมันจะดีเอง คนส่วนมากไม่คิดแก้ตนเอง จึงพัฒนาอะไรไม่ได้ สมาบัติแปลว่าอะไร (แปลว่า เข้าสู่สภาพอันนั้นได้) ... ๗๘๒๒ว่า คนรวยน่าจะมีโอกาสตกนรกได้มากกว่าคนจน (ถูกต้องแล้ว) ถามว่าไม่ได้ปฏิบัติให้มีวิโมกข์๘ แต่มีแค่วิโมกข์๓ จะบรรลุได้ไหม (พ่อครูสอนให้รู้ว่า วิโมกข์ทั้ง๓นั้น เป็นคุณลักษณะของรูปฌาน ที่รู้รูปทั้งหลาย และรู้ทั้งรูปนอกและรูปภายใน แล้วน้อมจิตไปสู่ความเจริญ ไปได้โชคอันดีงามขึ้น (หมายถึงว่า จะน้อมเจริญไปสู่อรูปฌานทั้ง ๔ ได้อีก /ผู้บันทึก)


๑๐๗๒ ว่า ขอให้บอกวิธีดับทุกข์ให้สนิทด้วยครับ (บรรยายอยู่ทุกวันนี้ก็เพื่อจะให้ดับทุกข์สนิท ขอให้ติดตามฟัง) ... พระโสดาบันยังยินดีในรูปรสกลิ่นเสียงสัมผัสได้อยู่ไหม (ได้อยู่ แต่ละออกได้แล้วในการยินดีในรูปรสกลิ่นเสียงสัมผัสอันหยาบๆ ในความสุขระดับอบาย บางคนก็มีภูมิสูงเป็นโสดาฯมาก่อนแล้ว  แต่ก็ยังไม่รู้สึกตนเอง ยังไปหลงคลุกคลีกับอบายเพราะโลกครอบงำ  แต่พอได้บารมีแล้ว จะละออกได้ไว เจริญก้าวหน้าพรวดๆ


ถาม เรื่องการชี้ใช้ (พ่อครูว่าไม่ชอบการชี้ใช้ผู้อื่นให้ช่วย เราทำเองก็ได้จะไปใช้คนอื่นทำทำไม) ... ๙๕๐๓ พระโพธิสัตว์ถ้าตายในขณะลิงลมอมข้าวพองล่ะ จะเป็นยังไง (พ่อครูสอนว่าลิงลมอมข้าวพอง คือ ตนเองได้แล้วแต่ยังไม่รู้ตัวว่าได้ จึงหลงไปเพราะถูกโลกครอบงำ เช่น พระพุทธเจ้ายังไม่รู้ตัวว่าตนเองเป็นใคร จึงไปเป็นลูกศิษย์คนอื่น ไปรับวิชามิจฉาสมาธิจนได้ฌานสมาบัติมา  ทั้งๆ ที่พระองค์ก็มีสัพพัญญูอยู่ก่อน ที่ไม่ต้องไปเป็นลูกศิษย์ใครอีกแล้ว


พล.ร.ต. มินทร์ ว่า การสาปแช่งดุด่าคนเลวนั้น เป็นกุศล ใช่ไหม (การสาปแช่งเป็นการทำจิตให้เกลียดชัง  แต่คำว่าดุด่านั้นทำด้วยความรัก ทำด้วยความประสงค์จะให้เขาเข็ดหลาบ ไม่ทำกรรมเช่นนั้นอีก  ผู้มีสัปปุริสสธรรมจะประมาณใช้ศิลปะเหล่านี้เป็น เช่น พ่อครูใช้แต่คำตำหนิแรง ไม่ต้องใช้คำดุด่า แต่ถ้านานๆ ทีก็ใช้เป็นเหมือนกัน โดยไม่ได้มีจิตหรือมีอารมณ์ร้ายเข้าร่วมปรุงแต่งด้วยเลย


พ่อครู อ่าน SMS จากวานนี้ “โสดคืออำนาจ ไม่ต้องแบกภาระเพื่อสนองตอบ กิน กาม เกียรติ ให้ใครๆ”  (บางคนแบกไปได้ทั้งพ่อแม่พี่น้องของคู่อีก ลูกตนอีก ภาระยาว” ... ๑๓๑๗ว่า เลิกเติม ปตท. กันเถอะค่ะ (ตอนนี้เขากำลังเปิดเผยข้อมูล การถูกแทะกินกันโดย ปิดบัง ซ่อนเร้นกันอย่างเสียท่าชาวต่างประเทศ  ทั้งๆ ที่มันเป็นทรัพยากรของประชาชนคนในประเทศไทยเอง


ใน ขณะโกรธ อะไรคือกาย เวทนา จิต ธรรม เจ้าคะ (พ่อครูตอบให้รู้อย่างกระชับๆ ว่า สิ่งที่ถูกรู้คือ กาย กายนี้หมายไปที่องค์ประชุมของความโกรธที่ถูกรู้  ก็อาการโกรธนี้แหละคือเหตุของการเกิดเวทนา เมื่อจับกายตัวนี้ได้ก็ไปรู้จิตในจิตคือ ประกอบไปด้วย"สโทสจิต"  แล้วมันก็เป็นการรู้ในธรรม (ธรรมคือการทรงไว้) เพราะมันทรงความโกรธเอาไว้ที่เรา คุณจึงต้องล้างธรรมคืออธรรมตัวนี้)

พระ พุทธเจ้าเข้าป่า เพื่อเรียนรู้กิเลส ใช่ไหมคะ (ท่านยังไม่รู้ตัว ภูมิของท่านยังไม่ขึ้นมาให้รู้  เขาพากันเข้าป่า ท่านก็หลงไปทำตามเขา พ่อท่านอิงหลักฐานหลายสูตรเพื่อให้รู้ว่า ปฏิบัติในป่านั้นไม่ใช่หนทางหลัก เช่น โชติปาละเคยดูหมิ่นพระกัสสปะพุทธเจ้า จนต้องได้มาบำเพ็ญทุกรกิริยาในชาติสิทธัตถะ  หรืออุบาลีสูตร ที่ว่า ป่าและราวป่าอันสงัดนั้น บำเพ็ญได้ยาก ยากที่จะอภิรมย์ในการอยู่ผู้เดียว. 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น